เมนู

แม้ในข้อว่า อญฺญตฺราปิ วินยา กมฺมํ อฌฺญตฺราปิ สตฺถุ-
สาสนา กมฺมํ
ก็นัยนี้แล. ก็ในวินัยและสัตถุศาสนานี้ การโจทและการประกาศ
ชื่อวินัย. ญัตติสัมปทาและอนุสาวนสัมปทา ชื่อสัตถุศาสนา, ความว่า ภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ทำกรรมเว้นจากการโจท การประกาศญัตติสัมปทา และอนุสาวน
สัมปทาเหล่านั้น.
บทว่า ปฏิกฺกฏฺฐกตํ ได้แก่ กรรมที่ถูกคัดค้านและอันเธอขืนทำ.
กรรมใด อันภิกษุขืนทำในเมื่อภิกษุเหล่าอื่นคัดค้านอยู่, กรรมนั้นจัดเป็น กรรม
ที่ถูกคัดค้านและอันภิกษุขืนทำ; ความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ทำกรรมเช่นนั้นบ้าง.

กรรมหก


ก็ในคำว่า ฉยิมานิ ภิกฺขเว กมฺมานิ อธมฺมกมฺมํ เป็นอาทิ
คำว่า ธรรม เป็นชื่อแห่งบาลี. เพราะเหตุนั้น กรรมใดสงฆ์ไม่ทำโดยบาลี
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้. กรรมนั้น พึงทราบว่า กรรมไม่เป็นธรรม.
ความสังเขปในฉกัมมาธิการนี้ เท่านี้. ส่วนความพิสดารมาแล้วในบาลีนั่นแล.
ก็ความพิสดารนั้นแล มาแล้วด้วยอำนาจแห่งญัตติทุติยกรรมและญัตติ
จตุตถกรรมเท่านั้น. อันในญัตติกรรมไม่มีความลดหย่อนหรือความทำโดย
ประการอย่างอื่น เหมือนในญัตติทุติยกรรมและญัตติจตุตถกรรม, ส่วนอป-
โลกนกรรมอันภิกษุย่อมทำเพียงสวดประกาศ; เพราะฉะนั้นญัตติกรรมและ
อปโลกนกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงแสดงไว้ในบาลี. ข้าพเจ้า
จักพรรณนาวินิจฉัยแห่งกรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดข้างหน้า.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ปญฺจ สงฺฆา เป็นอาทิ เพื่อ
แสดงประเภทแห่งสงฆ์ทั้งหลาย ผู้จะพึงทำกรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรม ซึ่ง
เป็นที่หก.

บทว่า กมฺมปฺปตฺโต คือ ผู้เข้ากรรม ได้แก่ผู้ประกอบในกรรมคือ
ผู้ควรกรรม ความว่า ไม่ควรเพื่อทำกรรมใด ๆ หามิได้.
คำว่า จตุวคฺคกรณญฺเจ ภิกฺขเว กมฺมํ ภิกฺขุนีจตุตฺโถ เป็น
อาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อแสดงวิบัติแห่งกรรมโดยบริษัท.
ในคำนั้น บุคคลผู้มีสังวาสต่างกันเพราะกรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงถือเอา ด้วยอุกขิตตกศัพท์. บุคคลผู้มีสังวาสต่างกันเพราะลัทธิ ทรงถือ
เอาด้วยนานาสังวาสกศัพท์.
สองบทว่า นานาสีมาย ฐิตจตุตฺโถ มีความว่า เป็นจตุวรรคกับ
ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในหัตถบาสที่สีมันตริกหรือภายนอกสีมา.
คำว่า ปาริวาสิกจตุตฺโถ เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อ
แสดงวิบัติโดยบริษัทแห่งปริวาสกรรมเป็นต้นเท่านั้น. ข้าพเจ้าจักพรรณนา
วินิจฉัยแห่งกรรม เหล่านั้น ข้างหน้า.
เพื่อแสดงข้อที่กรรมถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ เป็นกรรมกำเริบและ
ไม่กำเริบ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า เอกจฺจสฺส ภิกฺขเว สงฺฆสฺส
มชฺเฌ ปฏิกฺโกสนา รูหติ
เป็นต้น.
บทว่า ปกตตฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีศีลไม่วิบัติ คือ ผู้ไม่ต้องปาราชิก.
บทว่า อนนฺตริกสฺส ได้แก่ ผู้นั่งเป็นลำดับแห่งตน. เพื่อแสดง
ข้อที่กรรมทั้งหลายเป็นของกำเริบและไม่กำเริบ โดยวัตถุพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสคำว่า เทฺว มา ภิกฺขเว นิสฺสารณา เป็นต้น . บรรดาคำเหล่านั้น
คำว่า อปฺปตฺโต นิสฺสารณํ, ตญฺเจ สงฺโฆ นิสฺสาเรติ, สุนิสฺสาริโต
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาปัพพาชนียกรรม. จริงอยู่ สงฆ์ย่อมขับ

ให้ออกจากวัด ด้วยปัพพาชนียกรรม, เพราะฉะนั้น ปัพพาชนียกรรมนั้น ท่าน
จึงเรียกว่า นิสสารณา. ก็เพราะเหตุที่ไม่เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล. บุคคลนั้น
จึงไม่ถึงปัพพาชนียกรรมนั้น. ด้วยลักษณะแผนกหนึ่ง. แต่ว่า เพราะเหตุที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สงฆ์หวังอยู่พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่บุคคลนั้น
ดังนี้ บุคคลนั้น จึงจัดว่า เป็นผู้อันสงฆ์ขับออกด้วยดีแล้ว.

นิสสารณา


ข้อว่า ตญฺเจ สงฺโฆ นิสฺสาเรติ มีความว่า หากสงฆ์ขับออก
ด้วยอำนาจแห่งตัชชนียกรรมเป็นต้นไซร้ บุคคลนั้น ชื่อว่า ถูกขับออกด้วย
ดี เพราะเหตุที่ในวินัยว่าด้วยตัชชนียกรรมเป็นต้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตนิสสารณาด้วยองค์แม้อันหนึ่งอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์จำนง
อยู่พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ 3 พวก คือ เป็นผู้ทำความบาดหมาง เป็นผู้
ทำการทะเลาะ เป็นผู้ทำการวิวาท เป็นผู้ทำการอื้อฉาว เป็นผู้ก่ออธิกรณ์ใน
สงฆ์ พวกหนึ่ง, เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร พวก
หนึ่ง, อยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอัน ไม่สมควร พวกหนึ่ง.

โอสารณา


กิริยาที่เรียกเข้าหมู่ ชื่อโอสารณา.
ในเรื่องโอสารณานั้น ข้อว่า ตญฺเจ สงฺโฆ โอสาเรติ ได้แก่
เรียกเข้าหมู่ ด้วยอำนาจอุปสมบทกรรม.
บทว่า โทสาริโต มีความว่า บุคคลนั้น สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วแม้
ตั้งพันครั้ง ก็คงเป็นอนุปสัมบันนั่นเอง. ฝ่ายอาจารย์และอุปัชฌาย์ย่อมมีโทษ
การกสงฆ์ที่เหลือก็เหมือนกัน, ใคร ๆ ไม่พ้นจากอาบัติ. อภัพพบุคคล 11